IMET เป็นองค์กรที่ไม่ได้หวังผลกำไร มุ่งพัฒนาผู้นำที่เป็นคนดี มีคุณธรรม จริยธรรม มีความรับผิดชอบต่อสังคม และประเทศอย่างแท้จริง

วัตถุประสงค์หลักใน 3 ด้าน ของ IMET

ยกระดับศักยภาพ ความสามารถในการบริหารจัดการ และ การบริหารความเปลี่ยนแปลง

ให้กับนักธุรกิจในส่วนกลาง และ ส่วนภูมิภาค

ส่งเสริมความร่วมมือ ระหว่างภาคเอกชน และ สถาบันการศึกษา องค์กรสาธารณะ

ให้แสวงหา และ ถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ โดยให้คำปรึกษา ฝึกอบรม และ แนะนำวิธีการ แก้ไขปัญหาขั้นพื้นฐาน

เพื่อเสริมสร้าง
ความรับผิดชอบต่อสังคม

การมีส่วนร่วมของนักธุรกิจ และ การพัฒนาประเทศ

จากความร่วมมือสู่ IMET

IMET ก่อตั้งขึ้นจากความร่วมมือของ 3 สถาบันภาคเอกชน : สมาคมธนาคารไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หอการค้าไทย และ 3 สถาบันการศึกษาระดับชั้นนำของประเทศ คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์(นิด้า) และ อีกหนึ่งสถาบันคือ TMA

จากอดีตสู่ปัจจุบัน

IMET ถูกจัดตั้งขึ้นด้วยปณิธานที่มุ่งหวังให้เป็นองค์กรที่วางรากฐานให้กับภาคธุรกิจ สังคม และประเทศ ก้าวผ่านยุคสมัยแห่งการเปลี่ยนแปลง ในอดีต บทบาทของ IMET เป็นผู้บุกเบิกและผู้พัฒนา หนุนนำให้ผู้นำในแต่ละภาคส่วนโดยเฉพาะส่วนภูมิภาค และรวมถึงเยาวชน มีศักยภาพที่จะขับเคลื่อนบทบาทของตนไปในแนวทางที่เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม เมื่อภาคส่วนต่างๆ มีความเข้มแข็งมากขึ้น บทบาทของ IMET ในปัจจุบัน จึงมุ่งเน้นไปที่การสร้างผู้นำยุคใหม่ ที่จะทุ่มเทเพื่อประโยชน์ส่วนรวม

30 กันยายน 2525

ยุคกำเนิดแห่ง IMET ก่อนก่อตั้ง IMET

  • ฯพณฯ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เยือนสหรัฐฯ ในช่วงปลายปี 2524 นำมาสู่การริเริ่มก่อตั้ง IMET
  • ผู้แทนสหรัฐฯ ของประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกน สำรวจบรรยากาศในประเทศไทย และทำงานร่วมกับผู้แทนไทย 
  • 30 ก.ย. 2525 พิธีลงนามข้อตกลงระหว่างไทยและสหรัฐฯ
  • 14 ก.พ. 2526 จัดตั้งมูลนิธิเพื่อสถาบันการศึกษาวิชาการจัดการแห่งประเทศไทย (Institute for Management Education for Thailand Foundation: IMET) จากความร่วมมือของ 7 สถาบัน (หอการค้าไทย สมาคมธนาคารไทย สมาคมอุตสาหกรรมไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย) โดยได้รับเงินทุนสนับสนุนเริ่มแรกจาก องค์การให้ความช่วยเหลือระหว่างประเทศของสหรัฐฯ (United States Agency for International Development: USAID) 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในรูปแบบ Matching Fund
30 กันยายน 2525

ปี 2526 - 2531

ยุคบุกเบิกและวางรากฐาน

ฯพณฯ ดร.เชาวน์ ณ ศีลวันต์
“IMET ตั้งขึ้นมาเพื่อพัฒนานักธุรกิจเอกชนส่วนภูมิภาค ให้มีความรู้ ความสามารถในการบริหารจัดการที่เป็นระบบ และนำความรู้ไปใช้ในการดำเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรม”

  • เป็นยุคบุกเบิก ซึ่งยังไม่เคยมีองค์กรในลักษณะนี้ในไทย ดังนั้น IMET จึงดังมาก เป็นข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์แทบทุกวัน
  • พัฒนานักธุรกิจเอกชนส่วนภูมิภาคในทุกระดับและทุกธุรกิจ พัฒนาคณาจารย์สายบริหารธุรกิจ สร้างกรณีศึกษาเพื่อใช้ในการสอนในระดับมหาวิทยาลัย พัฒนาหลักสูตรต่างๆ เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพของทรัพยากรบุคคล การให้ความรู้ด้านการประกอบการกับเยาวชน  พัฒนาคณะกรรมการหอการค้าจังหวัด และศักยภาพภาวะผู้นำนักธุรกิจสตรีส่วนภูมิภาค  การให้คำปรึกษาธุรกิจ และการมีส่วนร่วมในแผนปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม SMEs
ปี 2526 - 2531

ปี 2531 - 2536

ยุคสืบสานปณิธาน

ดร.อำนวย  วีรวรรณ
“ผลงานจำนวนมากของ IMET จะส่งผลต่อความเจริญทั้งส่วนตน และความรุ่งเรืองของเศรษฐกิจ สังคม และประเทศ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว”

  • พัฒนานักธุรกิจชั้นนำ ขนาดกลาง ขนาดเล็ก ส่วนภูมิภาค
  • สร้างความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยชั้นนำทั่วประเทศทางด้านบริหารธุรกิจ
  • พัฒนาความสามารถทางธุรกิจของเยาวชนในระดับมัธยมศึกษา
  • พัฒนาศักยภาพภาวะผู้นำนักธุรกิจสตรีส่วนภูมิภาค
  • พัฒนาสตรีเจ้าของกิจการขนาดเล็กด้านหัตถกรรมและอุตสาหกรรมแบบครบวงจร
  • ที่ปรึกษาธุรกิจไทย (Thai Executive Service Corp. : TESC) และที่ปรึกษาธุรกิจแคนาดา (Canadian Executive Service Corp. : CESO)
  • ผลิตงานวิจัยที่ร่วมมือกับสถาบันการศึกษาต่างประเทศ
  • จัดทำหนังสือ “จริยธรรมนักธุรกิจ” เพื่อเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคม
ปี 2531 - 2536

ปี 2536 - 2547

ยุคขับเคลื่อน และ ฝ่ามรสุมเศรษฐกิจ

คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา
“IMET เป็นองค์กรที่จริงจังในการพัฒนาการเรียนรู้ สร้างบุคลากรที่มีคุณภาพ มีจริยธรรม เข้าใจบทบาทหน้าที่ ที่จะดำเนินงานให้สอดคล้องกับภาวะการเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะส่งผลให้ธุรกิจของไทยอยู่รอดพร้อมมีศักยภาพที่จะก้าวเป็นธุรกิจของอาเซียน และของโลก”

  • พัฒนาและบรรจุหลักสูตร “การประกอบการ” ในหลักสูตรการสอนในระดับมัธยมศึกษา หนังสือและคู่มือการสอน

  • ช่วงวิกฤตและหลังวิกฤต กระจายแนวคิด วิสัยทัศน์ และความรู้ด้านการจัดการ เพื่อปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม SMEs

  • จัดทำโครงการประนอมหนี้ และพัฒนาความรู้และหลักสูตรให้ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดย่อม

  • พัฒนาร้านค้าปลีกหรือโชห่วย

  • ส่งเสริมการกำกับดูแลกิจการที่ดี และพัฒนาความเป็นผู้นำที่มีจริยธรรมต่อองค์กรและสังคม

  • IMET เป็นองค์กรที่นำแนวคิดเรื่อง การศึกษาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (Thailand Competitiveness Study : Cluster Approach) นำมาใช้ในประเทศ ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  

  • ศึกษาขีดความสามารถในการแข่งขัน คลัสเตอร์อุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต  คลัสเตอร์อุตสาหกรรมอาหารกุ้งกุลาดำ และคลัสเตอร์กล้วยไม้กลุ่มราชบุรี

  • พัฒนาประชาคมตำบลเพื่อสร้างความเข้มแข็งของชุมชน

ปี 2536 - 2547

ปี 2547 - 2554

ยุคสานต่อ และก้าวไกล

คุณสมภพ  อมาตยกุล
“IMET ภูมิใจที่เป็นส่วนหนึ่งของความเจริญก้าวหน้าของประเทศชาติ และพร้อมที่จะพัฒนาผู้นำธุรกิจที่มีจริยธรรมในอนาคต จากการร่วมงานกับภาครัฐและเอกชนเพื่อร่วมกันพัฒนาทุกภาคส่วนของประเทศ”

  • วางแผนยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด ให้กับ ผู้ว่าราชการจังหวัด หน่วยงานของจังหวัด และภาคธุรกิจ
  • ศึกษาแนวทางการประเมินผลการปฏิบัติงาน และนำผลประเมินไปใช้ในการบริหารงานบุคคล ร่วมกับ กพร.
  • คู่มือ แนวทางการพัฒนาองค์กรตามระบบประเมินคุณภาพรัฐวิสาหกิจ ร่วมกับ สคร.
  • พัฒนาผู้นำยุคใหม่ (Community Leadership) เน้นการมีจริยธรรม ความสามารถ พร้อมรับความเปลี่ยนแปลงและปรับตัวได้ดี พัฒนาท้องถิ่น และมีความรับผิดชอบต่อสังคม
  • สร้างกรณีศึกษาเพื่อใช้ในการอบรมสำหรับสถาบันพระปกเกล้า
  • เสริมสร้างความรู้ทางวิชาการด้านการวิจัยเพื่อคณาจารย์สถาบันการศึกษาทางบริหารธุรกิจ
  • หนังสือ “คลัสเตอร์กล้วยไม้กลุ่มราชบุรี”
ปี 2547 - 2554

ปี 2554 ถึงปัจจุบัน

ยุคสร้างอนาคต สู่ยุคใหม่

คุณชุมพล  พรประภา
“IMET ให้ความสำคัญกับความพร้อมของประเทศ ในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน  การบริหารงานการศึกษา  การสร้างผู้นำที่เป็นคนดีและคนเก่ง ไปพร้อมกับการบริหารงาน ด้วยความโปร่งใส  และมีจริยธรรม”

  • การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการศึกษา เพื่อเตรียมความพร้อมสถาบันอุดมศึกษา เมื่อเข้าสู่ AEC
  • จัดทำชุดคู่มือ คณะกรรมการ สภามหาวิทยาลัย ตามหลักการกำกับ ดูแล กิจการที่ดี
  • บริการคลินิกธุรกิจพี่เลี้ยงอาสาสมัคร การนำธุรกิจไทยไปลงทุนใน CLMV
  • เป็นคณะกรรมการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ของ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เพื่อร่วมขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องให้เกิดสัมฤทธิ์ผล
  • IMET Mentorship Academy for Excellent Leaders หรือ IMET MAX เป็นโครงการพัฒนาผู้บริหารรุ่นใหม่ที่มีศักยภาพสูง มีความต้องการที่จะยกระดับตนเองให้เติบโตไปเป็นผู้นำที่ดีและเก่ง (Wisdom for Life and Social Values) โดยใช้กระบวนการ Mentoring จาก Mentor
  • หนังสือ จริยธรรมนักธุรกิจ (ปี 2556)
ปี 2554 ถึงปัจจุบัน

IMET MAX

IMET Mentorship Academy for Excellent Leaders หรือ IMET MAX เป็นโครงการพัฒนาผู้บริหารรุ่นใหม่ที่มีศักยภาพสูง มีความต้องการที่จะยกระดับตนเองให้เติบโตไปเป็นผู้นำที่ดี มีความมุ่งมั่นในการ สร้างคุณค่า ให้กับตนเอง และ ผู้อื่น 

Scroll to Top